Posted on Leave a comment

อายุ40ต้องเริ่มวางแผนใช้ชีวิตหลังเกษียน

คุณเคยออกแบบชีวิตในวัยเกษียณไว้บ้างหรือไม่ จะเกษียณตอนอายุเท่าไหร? หลังเกษียณอยากใช้ชีวิต แบบไหน?  อยากทำอะไร ? ที่สาคัญต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเท่าไหร่?    หลายคนวาดฝันถึงชีวีตในบั้นปลายไว้เป็นอยางดี แต่หลายคนกย็งไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้เลยสักครั้ง โดยเฉพาะ คนที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วัยทำงานอาจคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคต ยังอีกไกล ไว้ใกล้เกษียณแล้วค่อยวางแผนก็คงทัน

การเกษียณอายุหมายถึง  การหยุดทำงานประจำไม่มีรายได้หลักอีกต่อไป  ” แต่ทุกๆ วันที่เหลืออยู่คุณยังตัองกิน ต้องใช้จ่าย ยิ่งอายุยืนเท่าไร ก็ต้องใช้เงินมากขึ้นเท่านั้น การจะรอให้ลูกหลานหรือญาติ พี่น้องมาเล้ยงดู หรือรอรับสวัสดิการจากรัฐ การหวังพึ่งพาเงินบำนาญ  เงินสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินทดแทนสำหรับพนักงาน  หลายคนมีเงินเก็บเหล่านี้  แต่ไม่เพียงพอสำหรับใช้ในเวลาเกษียณ นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเวลาเจ็บป่วยนะ ดังนั้นเราควรหาช่องทางเพิ่มรายได้ช่องทางอื่นๆควบคู่ไปด้วย

ข้อควรคิดก่อนเริ่มหารายได้ช่องทางที่สอง

1. มีเวลาสำหรับงานนั้นแค่ไหน  งานประจำโดยทั่วไป คือ 8 ชั่วโมง ซึ่งกินเวลาไปถึง 1 ใน 3 ของวันแล้ว และสำหรับคนที่ต้องเดินทางด้วยอาจเสียเวลาเพิ่มถึง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น ในแต่ละวันก็จะเหลือเวลาส่วนตัวไม่เกิน 14 ชั่วโมงซึ่งต้องแบ่งเป็นเวลาพักผ่อนด้วยเมื่อคิดจะทำงานหารายได้เสริมจึงควรนำปัจจัยเวลามาคิดเป็น “ต้นทุน” ที่เราลงทุนด้วย อาชีพหรืองานที่จะเลือกทำจึงควรเป็นงานที่ไม่กินเวลามาก   ไม่เบียดเวลาพักผ่อนจนเกินไป

2. ต้องใช้เงินต้นทุนสำหรับงานเสริมเท่าไร งานทุกงานมีต้นทุนที่เป็นตัว ‘เงิน’ ต้องเสีย แม้เราอาจเลือกงานที่ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบ วัสดุ หรือซื้อของมา สต็อกไว้ แต่ก็อาจมีค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าดูแลตัวเองเพิ่มเติมทั้งกายและใจด้วย รวมทั้งโอกาสที่จะซื้อของมากขึ้นในระหว่างการเดินทางและระหว่างทำงาน สิ่งที่น่าจะเริ่มทำได้ก่อนที่จะหารายได้เสริมที่ต้องใช้เงินทุนจึงน่าจะเป็นการลดภาระรายจ่ายของเราให้ได้ก่อน

3. ต้นทุนแรงกายคุ้มค่าไหม ข้อนี้เป็นข้อที่หลายๆ คนละเลย เพราะคิดว่าเตรียมใจมาแล้ว ว่าอย่างไรการทำงานเพิ่มขึ้นก็ต้องเหนื่อย ซึ่งจริงๆ แล้ว เราควรพิจารณาว่าที่ลงแรงไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่ เพราะแรงกายของเราไม่ใช่ ‘ต้นทุนเปล่า’ ที่ไม่ต้องดูแลรักษาอะไร หากมุ่งมั่นทำงานเพิ่มขึ้นโดยไม่ใส่ใจการพักผ่อนหรือดูแลสุขภาพ รายจ่ายของเราอาจเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่คาดคิดจากค่ารักษาพยาบาล จนสุดท้ายรายได้เสริมที่เพียรหามาอาจไม่คุ้มค่า

4. ต้องไม่กระทบงานประจำ    เรื่องนี้คือเรื่องที่สำคัญที่สุด ต้องตระหนักไว้ว่ารายได้หลักของเราคืองานประจำ หากเราทำงานเสริมที่กระทบเวลาทำงาน หรือทำแล้วเหนื่อยเกินไปจนส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อาจเกิดข้อผิดพลาดและความเสียหาย รวมทั้ง ส่งผลต่อการประเมินผลซึ่งอาจทำให้เราถูกปลดจากงานได้ จากที่ตั้งใจว่าจะหารายได้เพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นขาดรายได้ไป

นอกจาก 4 ข้อที่ควรคิดก่อนเริ่มหารายได้เสริม  ที่น่าจะช่วยทบทวนความพร้อมของเราแล้ว อีกสิ่งที่น่าคิดด้วย คือ “ต้นทุนความสามารถ” หรือถามตัวเองว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อลดต้นทุนด้านเวลา  เงินทุน  แรง  และความเสี่ยงเพราะทำอะไรที่เรารู้จริงและสร้างรายได้ได้

#งานเครื่อข่าย หรือ network marketing ทำงานผ่านสื่อ ออนไลน์ จึงเป็นตัวเลือกนึง ที่มีความเสียงน้อย  ไม่กระทบงานประจำ เป็นงานที่ต้องใช้เวลาค่อยๆ หาผู้ร่วมธุรกิจที่มีทัศนคติเหมือนกันเมื่อเครือข่ายเกิดการขยายตัว แล้วองค์กรเราจะยั่งยืน รายได้จะมั่นคง เป็นเหมือนเงินบำนาญที่สามารถถ่ายโอนให้ลูกได้ เริ่มเร็วเราก็สำเร็จเร็ว มีเวลาใช้ชีวิตมากขึ้น

ปัจจุบันบริษัทขายตรงเข้าตลาดทุน จดทะเบียนป็นบริษัท มหาชน แล้ว มุมมองด้านลบที่คนมีกับงาน ขายตรงหรืองานเครื่อข่าย ก็น้อยลง มีคนเข้ามาทำงานเครือข่ายมากขึ้น  ก่อนเข้าร่วมธุรกิจ สิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจเครือข่ายให้ประสบความสำเร็จ ในมุมมองของผมที่สำคัญมีสองสิ่ง สิ่งแรกคือ เงินทุน สิ่งที่สองคือทัศนคติเชิงบวก

เงินทุน เริ่มจากหาบริษัทที่จะร่วมธุรกิจ ต้องลงทุนน้อย รักษายอดต่อเดือนไม่สูง ในช่วงแรกการทำเครือข่ายคุณอาจจะไม่มีรายได้เข้ามาเลย แต่ทุกเดือนคุณต้องซื้อเพื่อรักษายอด หลายคนถอย ไม่ไปต่อเพราะเหตุนี้

ทัศนคติเชิงบวก งานเครือข่ายเป็นงานที่ต้องพูดคุย สื่อสาร เพื่อชวนคนมาร่วมธุรกิจ ถึงแม้ยุคนี้จะมี สื่อออนไลน์ต่างๆช่วย แต่ก็ต้องพูดคุยอยุ่ดี คุณพร้อมรับคำปฏิเสฐมั้ย จะมีคำถามเข้ามามากมาย ถ้าไม่ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำงานที่ถูกต้อง ส่วนมากก็จะค่อยๆถอยออกไป นอกจากทัศนคติเชิงบวกแล้ว ” การเรียนรู้อย่างถูกต้องแล้วลงมือทำ อดทนมุ่งไปที่เป้าหมายที่วางไว้ เชื่อเถอะครับว่า ความสำเร็จจะเป็นของเรา

พี่เหม มนตรี เหมชาติ /เครือข่ายผู้บริโภคซัคเซสมอร์

ad line: URL / https://line.me/ti/p/I3WKpCI3cz

https://www.facebook.com/montrihem1968

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *